ราวปี ค.ศ.1902 วิศวกรชาวฝรั่งเศส,นักเคมี,และนักประดิษฐ์ นามว่า George Cluad เป็นคนแรกที่พัฒนาเทคนิคการปล่อยก๊าซนีออนเข้าไปในหลอดแก้วได้สำเร็จ ต่อมา George Cluad ก็ได้แสดงหลอดไฟนีออน(ให้แสงสีส้มแดง) ต่อสาธารณะชนครั้งแรก เมื่อ 11 ธันวาคม ปี ค.ศ.1910 ที่กรุงปารีส
หลอดไฟนีออนหรือหลอดไฟโฆษณา เป็นหลอดแก้วที่ถูกลนไฟแล้วดัดให้เป็นรูปหรือตัวอักษร ที่ปลายทั้งสองข้างจะมีขั้วไฟฟ้าทำด้วยโลหะต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูง ภายในหลอดสูบอากาศออกจนหมดแล้วใส่ก๊าซนีออนเข้าไป
หลอดนีออนถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 1934-1936 เมื่อมีการบรรจุก๊าซชนิดอื่น เช่น ฮีเลียม ให้สีออกชมพู อาร์กอน ให้แสงสีฟ้า ฯลฯ เพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ หลอดนีออนจึงถูกนำมาใช้ทำเป็นป้ายชื่อร้านไนต์คลับ ร้านอาหาร ในนิวยอร์กเพื่อดึงดูดนักท่องราตรีด้วยแสงสี จนต่อมาจึงได้พัฒนาขึ้นเป็น หลอดฟลูออเรสเซนต์ สำหรับใช้ตามอาคารบ้านเรือนอย่างในปัจจุบัน
หลังจากมีหลายคนที่พยายามพัฒนาหลอดไฟอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ก็ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.1934 โดย George E. Inman และ Richard N. Thayer จาก บริษัท General Electric (GE) และเริ่มนำหลอดฟลูออเรสเซนต์ ออกวางขายในปี ค.ศ.1938
หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำจากหลอดแก้วบรรจุก๊าซเฉื่อยประเภทอาร์กอน มีปรอทผสมอยู่เล็กน้อย และเคลือบผนังภายในหลอดแก้วด้วยสารฟอสฟอร์ (Phosphor) มีขั้วที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ หลอดตรง,วงกลมและหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดคอมแพกต์ มีส่วนประกอบคือ ตัวหลอด ,ไส้หลอด ,
สตาร์ตเตอร์ และ บัลลาสต์
หลักการทำงาน
เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทจะคายพลังงานไฟฟ้าให้อะตอมไอปรอท ทำให้อะตอมของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (excited state) และอะตอมของปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลดระดับพลังงาน ในรูปของรังสีอัลตรา
ไวโอเลต ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่มองไม่เห็น เมื่อรังสีนี้กระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสีต่างๆตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ในหลอดนั้น